ติดต่อบริษัท | แผนที่ website      

คำถามงานประชุมผู้ถือหุ้น

 

คำถาม – คำตอบ
  การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 1/2565
  คำถามแนบท้ายรายงานการประชุม   (โดยรวบประเด็นคำถามที่ใกล้เคียงกันมารวมตอบไว้ด้วยกัน)
คำถามที่ 1 ประเด็น มูลค่าหุ้น , Free Float , สภาพคล่อง
คำถามจาก  คุณพลพัฒน์  อร่ามเรืองสกุล  (ผู้ถือหุ้น)

  1. ทางคณะกรรมการมีนโยบายในการดูแลผู้ถือหุ้นอย่างไรบ้างในด้าน

1.1  มูลค่าหุ้นที่ต่ำกว่า Book Value (มูลค่าตามบัญชี) ในปัจจุบัน

คำตอบ     มูลค่าหุ้นเป็นไปตามกลไกของตลาดหุ้นและสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในภาวะยากลำบาก  หากสถานการณ์ดีขึ้นประกอบกับศักยภาพ (potential) ที่ดีของบริษัท มูลค่าหุ้นของบริษัทน่าจะปรับตัวสูงขึ้นได้

1.2 Free Float (การกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย ที่มา www.set.or.th/ regulation) ของหุ้นที่ต่ำมากจนไม่สามารถซื้อขายในปริมาณมากได้

คำตอบ      บริษัทเห็นด้วยกับประเด็นนี้ และจะนำไปพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเพิ่มเติม  ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นประเด็นนี้

คำถามจาก คุณลัดดาวัลย์ อร่ามเรืองสกุล (ผู้ถือหุ้น)

  1. จะแก้ไขเรื่องสภาพคล่องของหุ้นอย่างไรบ้าง ?

คำตอบ   เป็นคำถามในประเด็นที่น่าสนใจ บริษัทจะนำเรื่องไปพิจารณาปรึกษาในการประชุมคณะกรรมการต่อไป ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะ

คำถามที่ 2 ประเด็นการเติบโตของอุตสาหกรรมในอนาคตและการแข่งขัน
คำถามจาก  คุณพลพัฒน์  อร่ามเรืองสกุล  (ผู้ถือหุ้น)

  1. มีเป้าหมายในการเติบโตอย่างไรในอีก 5 – 10 ปี ข้างหน้า ?

คำถามจาก คุณไพศาล วุฒิบัญชร  (ผู้ถือหุ้น)

  1. จากการประชุมปีที่แล้ว บริษัทได้กล่าวว่าผลกระทบจากโควิดจะทำให้อุตสาหกรรมแย่ลง 2-3 ปี ปัจจุบันความคิดเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสหกรรม และของบริษัทเป็นอย่างไร ?

 

คำถามจาก คุณชญาน์วัต  คาระวะวัฒนา  (ผู้ถือหุ้น)

  1. อยากทราบเกี่ยวกับแนวโน้มและแผนการดำเนินงานในปีนี้ และ ช่วง2-3ปีข้างหน้า ?
  2. อยากทราบมุมมองผู้บริหารถึงอุตสาหกรรมยานยนตร์ไทยในอนาคต หลังจากที่รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยอดผลิตรถจะตันอยู่แค่2ล้านคันหรือไม่ ?

คำตอบ   เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์โควิด – 19 ยังรุนแรง จึงเป็นการยากที่จะให้ข้อมูลที่ชัดเจนได้  ทั้งนี้บริษัทคิดเห็นว่าหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่านพ้นไปในช่วง 3 – 5 ปีหลังจากนั้น เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์จะฟื้นตัวดีขึ้นในระดับ 5% – 10%

 

คำถามจาก คุณลัดดาวัลย์ อร่ามเรืองสกุล

  1. บริษัทมีคู่แข่งเพิ่มเข้ามาในตลาดบ้างไหม ?

คำตอบ ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นตลาดเสรี การแข่งขันมีเข้ามาจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ  บริษัทจึงมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีเพื่อการแข่งขัน  โดยบริษัทยังมีความได้เปรียบ ในด้านประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่ตั้งมานาน อีกทั้งบริษัทมีความพร้อมในด้านประสบการณ์ และทรัพยากร ทั้ง เทคโนโลยี , วัตถุดิบ และ พนักงานที่มีฝีมือ

คำถามที่ 3 ประเด็นรถยนต์ไฟฟ้า
คำถามจาก คุณชัยรัตน์ ผลาดิกานนท์ 

  1. คิดเห็นอย่างไรกับรถยนต์ไฟฟ้า ในด้านประโยชน์ที่บริษัท จะได้รับ เป็นด้านบวก หรือ ด้านลบ ?

คำตอบ   รถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทยอย่างแน่นอน  โดยมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แต่ยังต้องใช้อุปกรณ์ไฟส่องสว่างบริษัทจึงคิดเห็นเป็นด้านบวก โดยเป็นโอกาสที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วยการใช้เทคโนโลยีที่บริษัทมีความพร้อมอยู่

คำถามที่ 4 ประเด็นการลงทุนในต่างประเทศ
คำถามจาก คุณภาคภูมิ  บุญเพ็ชร์

  1. บริษัทได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดีจากการลงทุนในต่างประเทศอย่างเวียดนามและลาว อยากทราบว่าบริษัทมีแผนการลงทุนในต่างประเทศอื่นๆ อีกหรือไม่ ? อย่างไร ?
  2. บริษัทมีแผนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในประเทศที่เคยลงทุนไว้แล้วอย่าง อินเดีย อินโดนีเซีย และปากีสถาน หรือไม่ ?

คำตอบ  ด้านการลงทุนในต่างประเทศ บริษัทอยู่ในระหว่างศึกษาข้อมูลของบางประเทศทั้งในอาเซียน และตลาดต่างประเทศในเขตอื่นๆ  หากมีความชัดเจนจะแจ้งให้ทราบต่อไป

คำถามที่ 5 ประเด็น โรงงาน Lamp 8 และข้อมูลจากงบการเงิน
คำถามจาก คุณชัยรัตน์ ผลาดิกานนท์ 

  1. โรงงานผลิตโคมไฟที่ 8 (Lamp 8) ที่สร้างใหม่ ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นเท่าใด ? และแบ่งมูลค่าเป็น สิ่งปลูกสร้าง  เครื่องจักร  เท่าใด ?

ประมาณ 4,055 ล้านบาท  ใช่หรือไม่ ?

คำตอบ   Lamp 8 ใช้เงินลงทุนโดยประมาณ  2,252 ล้านบาท

การลงทุนใน Lamp 8 แบ่งเป็น อาคารและระบบภายใน  ประมาณ  1,500 ล้านบาท , เครื่องจักรและอุปกรณ์ ประมาณ 245 ล้านบาท แม่พิมพ์ประมาณ 332 ล้านบาท อื่นๆ ประมาณ 48 ล้านบาท

 

  1. ประเด็นทรัพย์สินไม่มีตัวตน

– ทรัพย์สินไม่มีตัวตนเกี่ยวข้องกับโปรแกรมต่างๆ  เป็นจำนวนเงิน  252 ล้านบาท ใช่หรือไม่ ?

– ทรัพย์สินไม่มีตัวตนมีองค์ประกอบสำคัญคือ 1) โปรแกรมคอมฯ 2) ต้นทุนการออกแบบผลิตภัณฑ์  และ อื่นๆ คืออะไร ?

คือ ระบบจัดการควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้ economy of scale ใช่หรือไม่ ?

คำตอบ  สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (จากงบการเงิน ณ 31 มีนาคม 2564) จำนวน 131 ล้านบาท เป็นต้นทุนในการออกแบบผลิตภัณฑ์

องค์ประกอบสินทรัพย์ไม่มีตัวตน คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และ ต้นทุนการออกแบบผลิตภัณฑ์  จากคำถาม อื่นๆ คือระบบจัดการควบคุมการผลิตนั้น ไม่ใช่องค์ประกอบของรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

 

  1. โรงงานผลิตโคมไฟที่ 8 (Lamp 8) ผลิตตั้งแต่ปลายปี 2563  ปัจจุบันผลิตได้กี่เปอร์เซนต์ ?  และ breakeven หรือยัง ?

ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของ Lamp 8  เป็นจำนวนเท่าใดต่อปี ?  และเมื่อไหร่ถึงจะผลิตได้ 100%?

 คำตอบ โรงงาน Lamp 8 ปัจจุบันใช้กำลังการผลิตประมาณ   47%  คาดว่าจะใช้เต็มกำลังการผลิต (100%) ในปี 2566

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (ณ 31 มีนาคม 2564) ประมาณ 73 ล้านบาท แต่เนื่องจากปัจจุบันยังมีการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์เพิ่มเติม ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายจึงยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่

 

  1. การคิดค่าสิทธิ (Royalty) 3% ให้กับบริษัท สแตนเลย์อิเล็คทริค จำกัด (STJ) ประเทศญี่ปุน คำนวณโดยใช้ยอดขายสุทธิ คือ ยอดขายให้กับบริษัท STJ หักด้วย ยอดซื้อวัตถุดิบ + ซื้อทรัพย์สินไม่มีตัวตน  คงเหลือยอดขายเท่าไหร่จึงคิด 3 %  ใช่หรือไม่ ?

คำตอบ  การคิดค่าสิทธิให้กับ STJ ตามข้อตกลงทางการค้า ในอัตราร้อยละ 3 ของยอดขายสุทธิ (ยอดขายของบริษัท หักด้วย ยอดซื้อกับ STJ)

 

  1. 5. ค่า software license ที่จ่ายปีละประมาณ 10 ล้านบาท เป็นรายจ่ายทั้งหมดทุกปี อย่างไร?

คำตอบ  จากหมายเหตุประกอบงบการเงินสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 ข้อ 20 แสดงค่าตัดจำหน่ายของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software License) จำนวน 17.63 ล้านบาท เป็นการคำนวณตัดจ่ายแต่ละปีตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุของสินทรัพย์นี้  ( หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6.8 โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะถูกตัดจำหน่ายตลอดอายุประมาณการให้ประโยชน์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ถึง 10 ปี)

คำถามที่ 6 ประเด็นข้อมูลบริษัทร่วม บริษัทร่วมค้า
คำถามจาก คุณชัยรัตน์ ผลาดิกานนท์  (ปรับข้อความให้เป็นทางการและชัดเจนมากขึ้น)

  1. บริษัท เวียตนามสแตนเลย์ อิเลคทริค จำกัด เป็นโรงงานที่ผลิตขายในประเทศเวียตนามใช่หรือไม่ ?  มีการส่งออกหรือไม่?  ถ้ามีส่งออกคิดเป็นร้อยละเท่าใด?

คำตอบ   บริษัท เวียตนามสแตนเลย์ อิเลคทริค จำกัด การทำธุรกิจเป็นผู้ผลิตโคมไฟยานยนต์สำหรับขายให้กับลูกค้าผู้ประกอบรถยนต์ในประเทศเวียตนามเป็นหลัก  การส่งออกเป็นไปในลักษณะผ่านทางลูกค้า และเป็น Single source หรือผู้ผลิตและขายให้กับบริษัทในเครือสแตนเลย์

  1. บริษัท ลาวสแตนเลย์ จำกัด เป็นโรงงานผลิตและส่งขายประเทศใด ?

คำตอบ   บริษัท ลาวสแตนเลย์ จำกัด ทำธุรกิจเป็นโรงงานประกอบโคมไฟรถจักรยานยนต์ สำหรับขายในประเทศลาว เป็นหลัก

และมีการขายในประเทศกัมพูชาเนื่องจากมีสาขาผลิตที่กัมพูชา  ทั้งนี้มีการนำเข้าชิ้นส่วนจากไทยสแตนเลย์ไปประกอบและขายในประเทศดังกล่าว