ติดต่อบริษัท | แผนที่ website      

นโยบายการต่อต้านคอรัปชั่น

DSC_0023

 

นโยบายการต่อต้านคอรัปชั่น (Anti Corruption Policy)

บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายในการประกอบธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ถือหลักการปฏิบัติที่โปร่งใส มีจริยธรรม เพื่อให้ความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

บริษัทได้เข้าร่วมใน โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ

บริษัท ได้กำหนด นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น และ นโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกำหนดแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายนี้ และ เป็นไปตามจรรณยาบรรณของกรรมการและพนักงาน

นโยบายต่อต้านคอรัปชั่น

บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้บรรลุตามเป้าหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบโดย กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในบริษัทไม่ว่าจะโดยการนำเสนอ (Offering) การให้คำมั่นสัญญา (Promising) การขอ (Soliciting) การเรียกร้อง (Demanding) การให้หรือรับสินบน (Giving or Accepting Bribes) หรือการกระทำพฤติกรรมที่ส่อไปในทางคอร์รัปชั่น  โดยให้ยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรณของกลุ่มสแตนเลย์

คำนิยามของ การคอรัปชั่น  คือ การปฏิบัติที่ไม่สุจริต ผิดกฎหมาย และ ศีลธรรมอันดี ด้วยการนำเสนอ (Offering) การให้คำมั่นสัญญา (Promising) การขอ (Soliciting) การเรียกร้อง (Demanding) การให้หรือรับสินบน (Giving or Accepting Bribes) ไม่ว่าการกระทำนั้นๆ จะทำให้บริษัทได้รับหรือเสียผลประโยชน์

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
  2. คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุม เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
  3. ประธานกรรมการบริหาร และผู้บริหาร มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
  4. หัวหน้าสำนักงานตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติ อำนาจดำเนินการ ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมาย ข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้น และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

การปฏิบัติเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านการคอรัปชั่น

1.กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นและจรรยาบรรณกรรมการและพนักงาน โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชั่นทั้งทางตรงและทางอ้อม

2.พนักงานบริษัทต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถามให้ปรึกษาผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณคณะกรรมการและพนักงาน ผ่านช่องทางต่างๆ ที่กำหนดไว้

3.บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธหรือแจ้งเรื่องคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่บริษัทกำหนดไว้ในข้อกำหนดการแจ้งข้อเสนอแนะด้านจรรยาบรรณทางธุรกิจ

4.ผู้ที่กระทำการคอร์รัปชั่น ถือเป็นการกระทำผิดจรรณยาบรรณของบริษัท ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

  1. บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ ให้ความรู้ และทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรืออาจเกิดผลกระทบต่อบริษัท ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้

6 บริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ทั้งการกระทำธุรกรรมกับภาครัฐและภาคเอกชน

ข้อกำหนดในการดำเนินการ

1.นโยบายต่อต้านต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้ครอบคลุมไปถึงกระบวนการบริหารงานบุคคล ตั้งแต่การสรรหาหรือการคัดเลือกบุคลากร การเลื่อนตำแหน่ง การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน และการให้ผลตอบแทน โดยกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ สื่อสารทำความเข้ใจกับพนักงานเพื่อใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบและควบคุมดูและการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2.การดำเนินการใดๆ ตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น ให้ใช้แนวปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณคณะกรรมการและพนักงาน รวมทั้งระเบียบ และคู่มือปฏิบัติงานของบริษัท ตลอดจนแนวทางปฏิบัติอื่นใดที่บริษัทจะกำหนดขึ้นต่อไป

3.เพื่อความชัดเจนในการดำเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงกับการเกิดคอร์รัปชั่น กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และ พนักงานบริษัททุกระดับต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังในเรื่องต่อไปนี้

3.1 ของกำนัล การเลี้ยงรับรองและค่าใช้จ่าย

การให้ มอบ หรือรับ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในจรรยาบรรณคณะกรรมการและพนักงานบริษัท

3.2 เงินบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุน

การให้หรือรับบริจาคเงิน หรือเงินสนับสนุน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน

3.3 ความสัมพันธ์ทางธุรกิจและการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ

ห้ามให้หรือรับสินบนในการดำเนินธุรกิจทุกชนิด การดำเนินงานของบริษัทและการติดต่องานกับภาครัฐจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง